ข้ามไปที่เนื้อหา ↓

ประวัติความเป็นมาของ UWC ประเทศไทย

ในปีพ.ศ. 2519 เซอร์เอียน กูร์เลย์ (Sir Ian Gourlay) ประธานกรรมการบริหารขององค์กร UWCในสมัยนั้นได้เดินทางมาพบ ม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในเวลานั้น เพื่อให้ทุนการศึกษาแก่นักเรียนจากประเทศไทย และหารือเรื่องการแต่งตั้งบุคคลที่เหมาะสมให้ดำรงตำแหน่งคณะกรรมการระดับชาติขององค์กร UWC ซึ่งม.ร.ว. คึกฤทธิ์ ปราโมช ได้แต่งตั้ง นายเสริม วินิจฉัยกุล เป็นประธานกรรมการชุดดังกล่าว และได้ดำเนินการมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2519 จนถึงปีพ.ศ.2528 และตั้งแต่ปีพ.ศ. 2529 หลังจากนั้น มีประธานกรรมการตามลำดับดังนี้ นายโสรัจ สุจริตกุล, นายอาสา สารสิน, นายวิทยา เวชชาชีวะ, ม.ร.ว. สฤษดิคุณ กิติยากร, และนายศักดิ์ทิพย์ ไกรฤกษ์ ต่อมาคณะกรรมการระดับชาติฯประจำประเทศไทยได้มีดำริให้ศิษย์เก่าจาก UWC เป็นผู้ดำเนินการในฐานะคณะกรรมการระดับชาติฯ โดยตั้งแต่ปี 2519 คณะกรรมการระดับชาติฯ ได้คัดเลือกนักเรียนทุน UWC รวมแล้วมากกว่า 130 คน

 

คณะกรรมการองค์กร UWC ประจำประเทศไทย 

กรรมการจะประกอบด้วยบุคคลที่เห็นคุณค่าของการพัฒนาเยาวชนไทย ตามแนวคิดและปฎิธานขององค์กร UWC และพร้อมที่จะสละเวลาเพื่อสนับสนุนกิจกรรมของคณะกรรมการระดับชาติขององค์กรUWC ประจำประเทศไทย จากกลุ่มต่างๆ ได้แก่ เอกชนทั่วไป ข้าราชการ ข้าราชการเกษียณ ศิษย์เก่า UWC และผู้ปกครองของนักเรียนทุน UWC

ปัจจุบัน UWC คณะกรรมการจะมาจาก ศิษย์เก่า UWC ที่เคยได้รับคัดเลือกจาก UWC ประจำประเทศไทย